pe©ple

ปัญหาที่ผู้คนทั่วโลกประสบมาตลอดปี 2563 ต่อเนื่องจนถึงปีนี้ ก็คือ การถูกโรคระบาดโควิด 19 เล่นงาน จนต้องเปลี่ยนวิถีชีวิต คิดใหม่ ทำใหม่ แก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าให้ดีที่สุด

โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นหลักอย่างประเทศเนปาล ที่แทบจะตั้งหลักไม่ถูกกันเลยทีเดียว เมื่อเม็ดเงินจากนักเดินเขาทั่วโลกที่เคยสะพัดเข้าประเทศตลอดฤดูกาลปีนเขา กลายเป็นศูนย์

Nimsdai
หนังสือ Beyond Possible
Photo: https://www.nimsdai.com/beyond-possible-book

แทนที่จะนั่งจับเจ่าเฝ้ารอวัคซีนอยู่เฉยๆ นีร์มัล ปูร์จา (Nirmal Purja) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ Nimsdai หรือนิมส์ กลับใช้เวลาในช่วงล็อคดาวน์ให้เป็นประโยชน์ ด้วยการหยิบเอาประสบการณ์ตลอด เดือน วัน ที่เขาเป็นผู้พิชิต 14 ยอดเขาที่มีความสูงเกิน 8,000 เมตร (8,000-ers) ได้เร็วที่สุดในโลก เมื่อปี 2019 มาถ่ายทอดเป็นหนังสือชื่อ Beyond Possible  

ในขณะที่ มิงมา เชอร์ปา (Mingma Sherpa) ประธานชมรม Seven Summit Treks ในกาฐมาณฑุ และทาชา (Tasha) น้องชายของเขา และ ชาง ดาวา (Chhang Dawa) ทหารผ่านศึกที่เคยพิชิตยอดเขาที่สูงเป็นอันดับสองของโลกอย่าง K2 ในประเทศปากีสถาน มาแล้วหลายครั้ง ก็ระดมไอเดียขจัดอาการเบื่อที่ไม่ได้ออกไปเป็นไกด์นำนักท่องเที่ยวเดินขึ้นเขา ด้วยการวางแผนพิชิตยอด K2 ในฤดูหนาวขึ้น (K2 Winter 20/21) 

และนิมส์ก็เอาด้วยกับแผนการในครั้งนี้ จึงเกิดปรากฏการณ์สร้างสถิติครั้งใหม่จากความร่วมมือของนักปีนเขาดาวรุ่งฝีมือระดับโลก กับทีมนักปีนเขาพื้นเมืองชาวเชอร์ปา ที่ตั้งใจเขียนประวัติศาสตร์ในครั้งนี้ขึ้นเพื่อแผ่นดินเกิดอย่างประเทศเนปาลโดยเฉพาะ

Nimsdai
Photo: https://www.nimsdai.com/bremont-project-possible

เพราะหากจะนับจำนวนครั้งของการขึ้นไปเหยียบยอดเขาใดๆ ก็แล้วแต่ ที่สูงเกิน 8,000 เมตรลดหลั่นกันไปตามแนวเทือกเขาหิมาลัยต่อเนื่องไปยังคาราโครัม ชาวเชอร์ปาย่อมเป็นเจ้าของสถิติชนชาติที่เดินขึ้นเดินลงหลังคาโลกบ่อยที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย 

แต่ในโลกแห่งความจริง ชาวเชอร์ปาก็ยังคงเป็นเพียงลมใต้ปีกของนักปีนเขาทั่วโลก ที่กอบโกยเอาแต่ละสถิติไปสร้างชื่อเสียงให้กับตนและประเทศชาติ ทิ้งให้เจ้าภูเขาก้มหน้าก้มตาทำหน้าที่ผู้นำทางและลูกหาบต่อไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า 

หรือคุณจะปฏิเสธว่าถ้าให้นึกถึงชื่อของผู้ที่พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ได้เป็นคนแรกของโลกเมื่อปี 1953 คุณจะเอ่ยชื่อ เทนซิง นอร์เกย์ (Tenzing Norgay) แทนที่จะเป็น เอ็ดมุนด์ ฮิลลารี (Edmund Hillary) นักปีนเขาชาวนิวซีแลนด์ที่ไม่ได้คว้าแค่ชื่อเสียงไปครองเท่านั้น แต่ยังได้รับการแต่งตั้งจากพระนางเจ้าอลิซาเบธให้เป็นถึงอัศวิน  

ส่วนชาวเชอร์ปาอย่างนอร์เกย์นั้นแทบจะไม่มีใครให้เครดิตเขาในฐานะนักปีนเขาชาวเนปาลคนแรกที่ไปเหยียบยอดเขาเอเวอเรสต์เลยก็ว่าได้

Nimsdai
เทนซิง นอร์เกย์ และเอ็ดมุนด์ ฮิลลารี เดินทางไปถึงสนามบินฮีทโธรว กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 3 กรกฎาคม 1953 หลังพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก
Photo: (B/W ONLY) AFP PHOTO UK OUT
PA FILES / AFP

ครั้งนี้จึงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เนปาลที่จะได้เป็นเจ้าของสถิติบนยอดเขาอย่างสมภาคภูมิ ซึ่งสปอตไลท์จากหลายชาติในโลกก็คงจะไม่สาดส่องมาที่พวกเขาอยู่ดี หากไม่ได้ชื่อเสียงของ นีร์มัล ปูร์จา ที่เพิ่งคว้าสถิติพิชิต 14 ยอดเขาสูงที่สุดในโลกได้เร็วที่สุดมาครอง 

และปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นกันที่ภารกิจ K2 Winter 20/21 ไม่อาจสำเร็จลงได้ ถ้าไม่ได้อดีตนักรบกูรข่าและทหารแห่งราชนาวีอังกฤษคนนี้ คอยปลุกใจเพื่อนร่วมทีมท่ามกลางสภาวะที่แค่สูดออกซิเจนเข้าปอดยังยาก 

อะไรทำให้ชายจากชนเผ่ามาเกอร์แห่งเนปาลคนนี้กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลคนล่าสุดแห่งแวดวงนักปีนเขา ที่ทำให้โลกต้องหันมาจับตามอง

Nimsdai
นิมส์ (ตรงกลาง) กับเพื่อนร่วมทีมชาวเชอร์ปา
Photo: https://www.nimsdai.com/bremont-project-possible

การเติบโตของนักรบ 

นีร์มัล ปูร์จา ไม่ได้เป็นชาวเชอร์ปา ไม่ได้ใช้ชีวิตบนเทือกเขาหิมาลัย เขาเป็นชาวมาเกอร์ที่เกิดในภูมิภาคเธาลาคีรี (Dhaulagiri) และเติบโตในเขตจิตวัน (Chitwan) ดินแดนที่ราบแห่งหนึ่งในเนปาล  

นิมส์เติบโตขึ้นโดยมีความฝันก้อนเดียวกับเด็กชายชาวเนปาลเกือบทุกคน นั่นคือ โตขึ้นผมอยากเป็นทหารกูรข่า อาชีพที่ถือเป็นที่สุดแห่งเกียรติภูมิของลูกผู้ชายเนปาล เพราะทหารกูรข่าสร้างชื่อเสียงอันเกรียงไกรมายาวนานกว่า 200 ปี ในฐานะกองรบที่เก่งกล้า ทรหด อดทน ไม่กลัวตาย และเป็นชนเผ่าที่เจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษไม่สามารถเอาชนะได้ ทั้งๆ ที่ทหารอังกฤษมีปืน แต่นักรบกูรข่ามีเพียงมีดคูกริ (Kukri knives) อยู่ในมือ

Nimsdai
Photo: https://www.nimsdai.com/bremont-project-possible

กองทัพอังกฤษไม่ยอมแพ้ แต่ยอมรับในความเก่งกาจของนักรบภูเขา จึงได้ส่งคนไปเกลี้ยกล่อมเจรจากับกษัตริย์เนปาลในเวลานั้น (พ.. 2358) เพื่อทำข้อตกลงในการนำเด็กหนุ่มจากชนเผ่ากูรข่าไปฝึกเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของทหารกูรข่าในกองทัพอังกฤษตราบจนทุกวันนี้ 

การได้เป็นทหารกูรข่าในกองทัพอังกฤษนั้น นอกจากจะได้สวมเครื่องแบบในฝันอย่างหมวกปีก (slouch hat) และพกมีดคูกแล้ว ยังได้ไปฝึกอบรมในประเทศอังกฤษ ได้เห็นโลกกว้าง และมีรายได้มาจุนเจือครอบครัว ทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เด็กหนุ่มชาวเนปาลส่วใหญ่มักจะเตรียมตัวให้พร้อม แล้วทุ่มเทแรงกายแรงใจทั้งหมดเพื่อให้ผ่านการทดสอบอันแสนหฤโหด ทั้งความรู้ทางวิชาการและทดสอบสมรรถภาพร่างกาย แล้วก้าวไปเป็นทหารกูรข่า อาชีพที่มอบทั้งเกียรติยศและเงินทองให้กับตนและครอบครัวให้จงได้ 

และแล้วฝันของนิมส์ก็เป็นจริงในปี 2003 เมื่อเขาผ่านการทดสอบ และได้รับการบรรจุเป็นทหารกูรข่าในวัย 18 ปี

Nimsdai
นิมส์วัย 18 ปี เมื่อครั้งได้รับการบรรจุเป็นทหารกูรข่า
Photo: https://www.nimsdai.com/nimsdai-purja-mbe

แม้การเป็นทหารกูรข่าจะเป็นความฝันเดียวในชีวิต แต่เมื่อเขาทำตามฝันได้สำเร็จแล้ว นิมส์ก็ไม่หยุดที่จะไต่ระดับความทะเยอทะยานขึ้นทีละน้อย โดยอีก ปีต่อมา เขาเป็นทหารกูรข่าคนแรกที่สามารถเข้าร่วมเป็นทหารในกองกำลังรบพิเศษแห่งราชนาวีอังกฤษในปี 2009 สวมเครื่องแบบสง่างามภายใต้หมวกเบเร่ต์สีเขียว มีภารกิจรับผิดชอบการต่อต้านการก่อการร้ายทางทะเล และยึดมั่นในคำขวัญประจำหน่วยที่ว่า ด้วยความแข็งแกร่งและกลอุบาย 

ในระหว่างนี้เอง ที่นิมส์เริ่มสนใจกิจกรรมเดินเขามากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นความหลงใหลอย่างแรงกล้าที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตตามมา โดยในช่วงหยุดพักจากภารกิจของงานหลักในเดือนธันวาคม ปี 2012 นิมส์เลือกพักผ่อนด้วยการเดินเขาตามเส้นทางเอเวอเรสต์เบสแคมป์ ซึ่งประสบการณ์ในครั้งนั้นเองที่จุดไฟในตัวนิมส์ให้หลงรักภูเขาจนถอนตัวไม่ขึ้น

Nimsdai
นิมส์ขณะเป็นทหารในหน่วยรบพิเศษของราชนาวีแห่งสหราชอาณาจักร (SBS – Special Boat Service)
Photo: https://www.nimsdai.com/nimsdai-purja-mbe

เขาโน้มน้าวไกด์ให้ช่วยสอนกลเม็ดในการปีนเขาแบบมืออาชีพแก่ตนเอง และหลังจากนั้นไม่นาน เขาก็สามารถพิชิตยอดเขา Lobuche East ความสูง 6,119 เมตรสำเร็จ และนั่นคือ ยอดเขาแห่งแรกที่นิมส์ขึ้นไปยืนด้วยหัวใจที่พองโต 

หลังจากนั้น นิมส์หาเวลาไปปีนเขาบ่อยขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเขารับรู้ว่าสภาพร่างกายของตนสามารถปรับตัวต่อการหายใจบนที่สูงได้ดี จนสามารถไต่ระดับความสูงไปได้เรื่อยๆ เขาจึงตัดสินใจลาออกจากการเป็นทหาร แล้วหันมาเป็นนักปีนเขาเต็มตัว 

“ผมเป็นทหารให้กองทัพอังกฤษมา 16 ปี เหลืออีก 6 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญจำนวนครึ่งล้านปอนด์แล้ว แต่ผมไม่เคยทำงานเพื่อเงิน ถ้ายังคงเป็นทหาร ผมจะไม่สามารถทำภารกิจพิชิตยอดเขาได้ เนื่องจากเสี่ยงเกินไป ผมจึงยอมทิ้งเงินบำนาญก้อนโตแล้วลาออกมาปีนเขาเต็มตัว 

แน่นอนว่าการจะตัดสินใจขั้นเด็ดขาดถึงขั้นทุบหม้อข้าวขนาดนี้ นิยามของคำว่า ‘ปีนเขา สำหรับนิมส์ย่อมไม่ใช่การปีนเขาลูกโน้นลูกนี้ไปเรื่อยๆ หากหมายถึงการมุ่งมั่นสร้างสถิติโลกครั้งใหม่ โดยนิมส์เลือกที่จะพิชิต 14 ยอดเขาที่มีความสูงเกิน 8,000 เมตร โดยใช้เวลาที่สั้นที่สุดให้ได้

Nimsdai
นิมส์ยืนมองยอดเขาอัณณาปูรณะ ยอดเขาแรกที่เขาพิชิตสำเร็จใน Project Possible
Photo: https://www.nimsdai.com/bremont-project-possible

เหตุผลที่นิมส์เลือกพิชิตยอดเขา 14 แห่ง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นภูเขาที่แทงยอดสูงเสียดฟ้าสลบซับซ้อนทอดยาวไปตามแนวเทือกเขาหิมาลัยและคาราโครัม เพราะก่อนหน้านี้มีนักปีนเขาเพียง 40 คนเท่านั้น ที่สามารถพิชิตยอดเขาที่มีความสูงเกิน 8,000 เมตร ทั้ง 14 ยอดสำเร็จ โดย เจอร์ซี คูคักซ์กา (Jerzy Kukuczka) เป็นนักปีนเขาลุยเดี่ยวชาวโปแลนด์คนแรกที่ทำสำเร็จภายในเวลา ปี 11 เดือน 14 วัน เมื่อ ค.. 1987  

ต่อมา คิม ชาง โฮ (Kim Chang-ho) นักปีนเขาชาวเกาหลีใต้ทำลายสถิติเดิมลงในปี 2013 โดยทำเวลาเร็วกว่าเจอร์ซีเพียง เดือนกับอีก วัน (คิมใช้เวลาทั้งหมด 7 ปี 10 เดือน วัน) นิมส์จึงอยากเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นใหม่ โดยตั้งใจพิชิต 14 สุดยอดขุนเขาให้สำเร็จภายใน เดือน! 

เขาเรียกขานโครงการที่ใครๆ ก็ส่ายหน้า เพราะมั่นใจว่าไม่มีทางที่มนุษย์คนไหนจะทำสำเร็จว่า Project Possible เพื่อบอกตัวเองว่า เขานี่แหละจะเป็นคนทำให้ภารกิจนี้สำเร็จได้จริง 

แต่ก่อนที่จะเริ่มออกเดิน ต้องออกหาเงินเสียก่อน ซึ่งถือเป็นด่านแรกที่โหดหินไม่น้อยไปการพยายามไปยืนบนยอดเขา โดยหลังจากล้มเหลวในการหาผู้สนับสนุนหลายต่อหลายครั้ง นิมส์จึงตัดสินใจระดมทุนในเดือนมกราคม ปี 2018 

ผมเริ่มด้วยการเขียนอีเมลไปถึงทุกคนที่ผมรู้จัก และภายใน 10 สัปดาห์ ผมก็ระดมทุนได้ 250K ซึ่งถือเป็นมหากาพย์เรื่องยากที่สุดที่ผมเคยทำก็ว่าได้ เงินก้อนนี้มากพอที่จะทำให้เขาพิชิตยอดเขา แห่งในเนปาลได้ เหลือแค่ขั้นต่อไปอย่างยอดเขาในปากีสถาน เขาจึงเริ่มระดมทุนอีกครั้งในวันที่ มิถุนายน โดยมีเวลาหาทุน 300,000 ดอลลาร์เพียงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น 

ปกติแล้วนักกีฬาอาชีพต้องใช้เวลาถึง ปีกว่าจะมีสายสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งถึงขั้นขอเงินสนับสนุนได้ แต่นิมส์ใช้เวลาแค่ เดือนเท่านั้น และถึงเขาจะได้รับเงินสนับสนุนอย่างปาฏิหาริย์ ก็ไม่มีอะไรการันตีว่าเขาจะปีนยอดเขาสูงเกิน 8,000 เมตรทั้ง แห่งในปากีสถานได้สำเร็จ โดยเฉพาะ K2 และ Nanga Parbat ยอดเขาสูงที่สุดลำดับที่ และ ของโลก ที่ขึ้นชื่อว่าโหดที่สุด 

ทางเดียวที่จะรู้ว่าหมู่หรือจ่า คือ เขาต้องออกไปพิสูจน์ด้วยตนเอง

Nimsdai
นีร์มัล ปูร์จา (ซ้าย) และ มิงมา เดวิด เชอร์ปา ในวันที่เดินทางมาถึงสนามบินตรีภูวัน กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
หลังพิชิต 14 ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกได้สำเร็จ
Photo: PRAKASH MATHEMA / AFP

เมื่อภารกิจที่เป็นไปไม่ได้ – เป็นไปได้ 

ตั้งแต่ รโนลด์ เมสเนอร์ (Reinhold Messner) ครองตำแหน่งผู้พิชิต “8,000-ers” หรือยอดเขาที่มีความสูงเกิน 8,000 เมตรสำเร็จในปี 1986 (หลังจากที่เขาเริ่มต้นโปรเจคท์นี้มาตั้งแต่ปี 1970) รายชื่อยอดเขาเหล่านั้นก็ยังคงเป็นมาตรฐานทองคำสำหรับการปีนเทือกเขาสูงเรื่อยมา 

โดยตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี มีนักปีนเขาอีกประมาณ 40 คน ที่สามารถเดินตามรอยเมสเนอร์สำเร็จ และอีกเป็นจำนวนมากที่เสียชีวิตขณะกำลังพยายามเป็นผู้พิชิตคนต่อไปให้ได้  

หนึ่งในมรดกที่เมสเนอร์และบรรดานักปีนเขาที่ประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าแห่ง “8,000-ers” ทิ้งไว้ ก็คือ การก่อตั้งชมรมเฉพาะผู้พิชิตยอดเขาสูงระดับ 8,000 เมตรขึ้น โดยพวกเขายืนยันว่า วิธีในการปีนเขาสำคัญพอๆ กับการไปให้ถึงยอด

Nimsdai
นิมส์เตรียมพร้อมสำหรับภารกิจช่วยชีวิตด้วยเฮลิคอปเตอร์
Photo: https://www.nimsdai.com/bremont-project-possible

วิธี’ ที่พวกเขาหมายถึง ก็คือ การไม่ใช้ออกซิเจนช่วยหายใจ ไม่อนุญาตให้ผู้อื่นช่วยดูแลหรือซ่อมแซมเชือกนำทางให้ และไม่ให้ชาวเชอร์ปาเป็นไกด์หรือช่วยแบกอุปกรณ์ปีนเขาต่างๆ 

นอกจากนี้ นักปีนเขาเจ้าของสถิติล้ำเลิศจะต้องพยายามเลือกใช้เส้นทางที่ต้องอาศัยเทคนิคพิเศษในการปีน และถ้าเป็นไปได้ควรค้นหาเส้นทางใหม่ๆ ไม่ให้ซ้ำรอยใคร และเมื่อภารกิจสำเร็จลุล่วง ก็ควรสงบปากสงบคำ การออกไปป่าวประกาศความสำเร็จตามสื่อต่างๆ ช่างดูไม่สมเกียรติของนักปีนเขาเอาเสียเลย 

ปรากฏว่า นีร์มัล ปูร์จา ผู้ทำความเร็วในการพิชิตยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก 14 แห่งได้เร็วที่สุด ได้หักไม้บรรทัดของกฎที่เมสเนอร์วางไว้ทุกข้อจนไม่เหลือชิ้นดี  

นิมส์เลือกที่จะใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบครัน รวมถึงออกซิเจนช่วยหายใจ ทั้งยังส่งนักปีนเขาชาวเชอร์ปากรุยทางล่วงหน้าไปก่อน ที่สำคัญ เขายังขยันอัพเดทภารกิจผ่านทางอินสตาแกรมตลอดเวลา ราวกับเป็นดาราฮอลลีวู้ดเวอร์ชั่นนักปีนเขาหิมาลัย ก็มิปาน 

แต่นิมส์ก็ไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองอ่อนด้อยหรือไร้ฝีมือไปกว่านักปีนเขาในตำนานแต่อย่างใด พิสูจน์ได้จากข้อความที่เขาโพสต์ทางโซเชียลมีเดีย ก่อนเริ่มปีนเอเวเรสต์ใน Project Possible 

ผมเพิ่งพิชิตยอดเขาที่อันตรายที่สุดและปีนยากที่สุด แห่งในโลกสำเร็จภายใน อาทิตย์ พร้อมด้วยปฏิบัติการช่วยชีวิตที่สำเร็จโดยไม่ได้วางแผนเอาไว้ล่วงหน้าตรงโซนมรณะอีก แผน ตอนนี้ผมกำลังจะพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ โลเซ และมาาลู ให้สำเร็จภายใน วัน ผมจะพยายามทำลายสถติตัวเองที่ไม่มีใครลอกเลียนแบบได้ 

24 พฤษภาคม 2019 นิมส์สามารถพิชิตมาาลู (Makalu) ยอดเขาที่สูงเป็นลำดับ ของโลกสำเร็จ แม้จะเป็นยอดเขาที่ถือว่าพิชิตได้ง่ายเมื่อเทียบกับมาตรฐานการปีนเทือกเขาแอลป์ แถมนิมส์เองยังใช้ถังออกซิเจนช่วยหายใจและมีลูกหาบชาวเชอร์ปาเป็นผู้ช่วยในการเดินทาง 

แต่ต้องไม่ลืมว่าเขาพิชิตยอดมาาลูได้ภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากเพิ่งไปยืนอยู่บนยอดเขาที่สูงเป็นอันดับที่สี่ของโลกอย่างโลเซ ซึ่งก่อนหน้านั้น 12 ชั่วโมง เขาเพิ่งลงมาจากยอดเขาเอเวอเรสต์หมาดๆ! 

ผลงานทั้งหมดของนิมส์ทุบสถิติการพิชิตยอดเขาที่สูงที่สุดและอันตรายที่สุดในโลก แห่ง ได้แก่ Annapurna, Dhaulagiri, Kanchenjunga, Everest, Lhotse และ Makalu ได้สำเร็จภายในฤดูเดียว (ซึ่งก็คือ ฤดูใบไม้ผลิ) หรือใช้เวลาแค่เกือบเดือน ความพยายามอันน่าทึ่งที่หลายเสียงต่างบอกว่าบ้าเกินพิกัดครั้งนี้ สำหรับนิมส์แล้ว ถือเป็นเพียงบันไดขั้นแรกสู่ความสำเร็จ เพราะเป้าหมายของเขาคือ การพิชิตยอดเขาที่มีความสูงเกิน 8,000 เมตรทั้ง 14 แห่งให้สำเร็จภายใน เดือน 

ปฐมบทแห่งความสำเร็จในครั้งนี้ ทำให้เขาได้รับความเคารพจากชาวเชอร์ปา และได้รับคะแนนนิยมท่วมท้นจากแฟนคลับที่ตดตามเขาจากทั่วโลก โดยเฉพาะนักปีนเขาชาวเอเชีย

Nimsdai
Photo: https://www.nimsdai.com/bremont-project-possible

อย่าปีนป่ายขึ้นไปยืนอย่างโดดเดี่ยว โดยไม่เหลียวแลผู้คนรอบตัว 

ถ้ากฎของนักปีนเขาเจ้าตำรับอย่างเมสเนอร์คือ การพุ่งตัวไปสู่จุดที่สูงที่สุด โดยไม่เหลียวมองข้างหลังให้เสียเวลา 

กฎของนิมส์คงเป็นการเดินให้ไว ด้วยก้าวย่างที่แข็งแรงและมั่นคง แต่จงหมั่นหันมองเพื่อนร่วมทางว่ามีใครกำลังต้องการความช่วยเหลืออยู่รึเปล่า 

สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับโปรเจคท์นี้คือ การช่วยชีวิตเพื่อนนักปีนเขา ซึ่งอยู่นอกเหนือแผนที่วางเอาไว้ นอกนั้น ผมว่าไม่มีอะไรหนักหนา การช่วยชีวิตคนที่ความสูง 8,450 เมตรยากกว่าการพิชิตยอดเขาเสียอีก นิมส์เล่าถึงปฏิบัติการพิเศษที่เขาพบเจอเป็นประจำระหว่างปีนเขา เช่น ในตอนที่ต้องช่วยเหลือแพทย์ชาวมาเลเซียที่หายตัวไป ในขณะที่เขาเองก็กำลังมุ่งมั่นสร้างสถิติของตัวเองบนยอดเขาอัณณาปูรณะ  

หรือในขณะที่เขาและทีมกำลังมุ่งมั่นกับการไปให้ถึงยอดคังเชนจุงก้าแบบม้วนเดียวจบ กลับต้องรีบช่วยชีวิตนักปีนเขาชาวอินเดียกับคนนำทางชาวเชอร์ปา ที่กำลังตกอยู่ในอาการย่ำแย่จากอาการขาดออกซิเจน นิมส์จึงให้ออกซิเจนสำรองเพื่อช่วยชีวิตพวกเขาไป กระป๋อง และขณะที่กำลังช่วยพวกเขาเดินลงมา ก็เจอเข้ากับนักปีนเขาชาวอินเดียอีกคนที่ออกซิเจนหมดถัง และถูกทิ้งไว้กลางทาง นิมส์จึงเอาออกซิเจนของตัวเองให้เขาไป 

เราวิทยุขอความช่วยเหลือเป็นล้านๆ ครั้ง และพวกเขาก็ได้แต่ตอบมาว่ากำลังส่งคนไปช่วย ตอนนั้นเป็นเวลา ทุ่ม รอตัวมืดสนิท แต่มองไปทางไหนก็ไม่เจอไฟฉายสวมหัวเลยสักดวง

นิมส์เอ่ยถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นอย่างสิ้นหวัง 

ไม่นานหลังจากออกซิเจนหมดกระป๋อง นักปีนเขาชาวอินเดียคนล่าสุดที่พวกเขาเจอก็เสียชีวิตลง และผู้ช่วยของนิมส์ทั้ง คนก็เริ่มแสดงอาการแพ้ความสูงอ่อนๆ ออกมา  

ในขณะที่ทั้งหมดใช้แรงเท่าที่เหลืออยู่พาตัวเองเดินมาจนใกล้จะถึงแคมป์ นักปีนเขาชาวอินเดียคนแรกที่นิมส์เจอก็เสียชีวิตลงก่อนถึงที่ตั้งแคมป์เพียง 200 เมตร ณ ที่แห่งนั้นมีนักปีนเขาประมาณโหลนึงกำลังกางเต็นท์นอนหลับพักผ่อนอยู่

Nimsdai
ที่ตั้งของแคมป์ 4 บนลาดเขามานัสลู
Photo: https://www.nimsdai.com/bremont-project-possible

บรรดานักปีนเขามักบอกว่าตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญบนพื้นที่สูง เป็นนักปีนเขาแบบฉายเดี่ยว แต่กลับไม่มีใครมาช่วยพวกเราเลย และที่น่าเศร้าที่สุดก็คือ พวกเขาเอาแต่โกหก โดยอ้างว่าส่งคน คนออกไปช่วยแล้ว การไม่ยอมพูดความจริงน่าเศร้าที่สุด 

จากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นบนยอดคัเชนจุงก้า ทำให้นิมส์ยิ่งมั่นใจในการปีนเขาตามแบบฉบับของตัวเอง 

ถ้าผมปีนเขาโดยไม่พกออกซิเจนไปด้วย ผมก็คงไม่มีออกซิเจนเอาไว้ช่วยเหลือคนอื่นๆ 

นิมส์อาจจะไม่ใช่ ยูลี ชเต็ค (Ueli Steck) นักปีนเขาชาวสวิสที่เน้นปีนไว แต่ถ้าวัดกันที่การเป็นนักปีนเขาผู้แก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการช่วยแก้ไขเชือกนำทางท่ามกลางพายุ การช่วยเหลือคนป่วยลงจากเขา ไปจนถึงการจัดคิวให้ประชากรนักปีนเขาที่ต่อแถวพิชิตยอดเอเวอเรสต์ยาวเหยียดเป็นประวัติการณ์ในวันเดียวกับที่เขาเองก็ต้องทำลายสถิติโลกเหมือนกัน 

อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เราต้องพยายามทำใจให้สงบเสมอเมื่ออยู่บนยอดเขา นิมส์ผู้เคยไปเอเวอเรสต์มาแล้ว ครั้ง จึงรู้จักธรรมชาติของยอดเขาแห่งนี้ดี เอ่ยถึงภาพคิวของผู้พิชิตเทือกเขาเอเวอเรสต์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2019 ที่เลื้อยราวกับแถวของงูคดเคี้ยวไปตามแนวเทือกเขา

Nimsdai
ภาพถ่ายคิวของนักปีนเขาที่รอขึ้นไปพิชิตเอเวอเรสต์ ถ่ายโดยนีร์มัล ปูร์จา
Photo: https://www.nimsdai.com/bremont-project-possible

เขายกกล้องขึ้นมาถ่ายรูปคิวของนักปีนเขาแล้วโพส์ลงอินสตาแกรม หลักๆ คือเพื่ออธิบายให้สปอนเซอร์และผู้สนับสนุนเข้าใจถึงเหตุผลที่เขาพิชิตเอเวอเรสต์ได้ช้ากว่ากำหนด โดยเขาต้องใช้เวลากว่า ชั่วโมงในการช่วยจัดคิวของเหล่านักปีนเขาทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ ที่ต่างก็มุ่งมั่นไต่ระดับความสูงขึ้นไปไปพิชิตยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกให้สำเร็จ โดยอาจหลงลืมไปว่า นี่พื้นที่ที่มีออกซิเจนเบาบางที่สุดบนโลกใบนี้ 

และแม้กระทั่งในสถานการณ์ชวนหัวเสียที่สุดอย่างการถูกขโมยถังออกซิเจน นิมส์ยังยิ้มได้ 

การเตรียมพร้อมด้านจิตใจไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ เหมือนอย่างการตั้งเป้าหมายแบบเป็นรูปธรรมอย่างการจะพิชิตยอดเขาลูกนั้นลูกนี้ให้สำเร็จภายในระยะเวลานี้ท่านั้นเท่า โดยเฉพาะปฏิบัติการที่เกิดขึ้นในพื้นที่ออกซิเจนเบาบางซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ยิ่งเต็มไปด้วยอุปสรรคที่คาดไม่ถึง และเมื่อหลายๆ เรื่องประดังประเดเข้ามา คุณอาจจะเริ่มรู้สึกว่า พอแล้ว ไปต่อไม่ไหวแล้ว แต่ถ้าคุณมองทุกปัญหาให้เป็นบวก คุณก็จะผ่านมันไปได้

Nimsdai
เกลเจน เชอร์ปา, นิมส์ และเกชแมน ทามัง บนยอดมานัสลู ประเทศเนปาล
Photo: https://www.nimsdai.com/bremont-project-possible

อย่างตอนที่ถังออกซิเจนของผมโดยขโมยที่โลตเซ (8,516 เมตร) ขณะที่ผมเองก็กำลังพยายามทำลายสถิติโลกอยู่ด้วย ถ้าผมมัวแต่โกรธ โวยวาย สาปแช่งคนที่ขโมยออกซิเจนของผมไป ผมคงสูญเสียการควบคุมจิตใจ ซึ่งย่อมส่งผลเสียตามมา ดังนั้น สิ่งที่ผมคิดก็แค่ ออกซิเจนหายเหรอ เออ ไม่เป็นไร ไม่แน่ว่าออกซิเจนถังนั้นอาจจะช่วยชีวิตใครสักคนเอาไว้ก็ได้ เมื่อคิดแบบนี้ก็จะเกิดพลังบวกส่งไปยังสมองที่ส่งผลให้ผมมีแรงกายแรงใจในการที่จะไปต่อ 

ประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ครั้งเป็นทหารกูรข่า จนถึงการเป็นสมาชิกกองกำลังพิเศษ น่าจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้นักปีนเขาคนนี้มีคุณสมบัติต่างจากผู้พิชิตรายอื่น ทั้งความมีน้ำใจ ให้ความสำคัญต่อการมีชีวิตอยู่ ไปจนถึงกระบวนการในการตัดสินใจ และการไม่ยอมแพ้ง่ายๆ 

คุณต้องมีจิตใจที่แน่วแน่ ซึ่งผมเรียกมันว่า พลังใจด้านบวก” นิมส์กล่าวพร้อมรอยยิ้มกว้างอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว 

ทีมเนปาลกับความสำเร็จของการพิชิต K2 ในฤดูหนาว  

นอกจาก นีร์มัล ปูร์จา จะเป็นเจ้าของตำแหน่งผู้พิชิต 14 ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกภายใน เดือน โดยยอดเขาแห่งแรกที่นิมส์พิชิตสำเร็จ คือ อัณณาปูรณะ 1 (Annapurna 1) (8,091 เมตร) เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2019 และยอดสุดท้ายคือ ชิชาปังมา (Shishapangma) (8,027 เมตร) ในทิเบต เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2019

Nimsdai
บนยอดเขาชิชาปังมา
Photo: https://www.nimsdai.com/bremont-project-possible

ระหว่างภารกิจ เขาและทีมยังคว้าอีก สถิติโลกมาครอง ได้แก่ สถิติปีนยอดเขาสูงเกิน 8,000 เมตรทั้ง 14 แห่งได้เร็วที่สุด (ใช้เวลา เดือน 6 วัน), สถิติปีนยอดเขาที่สุดที่สุดในปากีสถาน แห่งได้เร็วที่สุด (ใช้เวลา 23 วัน), สถิติปีนยอดเขาที่สูงเกิน 8,000 เมตร ทั้ง ยอดในเนปาลได้เร็วที่สุด, สถิติปีนเขา แห่ง จากเอเวอเรสต์ ไปโลตเซ และมาคาลู (ใช้เวลา 48 ชั่วโมง 30 นาที), สถิติปีนยอดเขาที่สุดที่สุดในโลก แห่งได้เร็วที่สุด (ใช้เวลา 70 วัน) และสถิติปีนยอดเขาความสูงเกิน 8,000 เมตรได้มากที่สุด (รวม แห่ง) ภายในฤดูกาลเดียว (ฤดูใบไม้ผลิ ใช้เวลา 31 วัน)  ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นได้จากทั้งทักษะ การวางแผนที่ดี การตระหนักรู้ และการเชื่อมั่นในตัวเองของเขาและเพื่อนร่วมทีมที่แสดงให้เห็นว่าทุกอย่างที่เป็นไปไม่ได้ สามารถเป็นไปได้

Nimsdai
นิมส์กับมิงมา เดวิด เชอร์ปา
Photo: https://www.nimsdai.com/bremont-project-possible

ตลอด 189 วันที่นิมส์ได้รับความช่วยเหลือจากทีมซึ่งเป็นชาวเนปาลเพื่อนร่วมชาติของเขา ทำให้เกิดสายใยแห่งความไว้วางใจกันอย่างแนบแน่นขึ้น ซึ่งนอกจากจะคอยเป็นกองหนุนให้กับนิมส์แล้ว แต่ละคนยังสามารถทำลายสถิติของตัวเองด้วยเช่นกัน อย่าง มิงมา เดวิด เชอร์ปา (Mingma David Sherpa) วัย 30 ปี ที่กลายเป็นเจ้าของสถิติผู้มีอายุน้อยที่สุดที่สามารถพิชิตทั้ง 14 ยอดเขา  

พวกเราเริ่มต้นรู้จักกันในฐานะทีมงาน แต่ตอนนี้เราเป็นพี่น้อง กลายเป็นครอบครัวเดียวกันไปแล้ว สายสัมพันธ์ของพวกเราเป็นความพิเศษไม่เหมือนใคร พวกเราทุกคนคิดเห็นตรงกันว่านี่ไม่ใช่โปรเจคท์ของผมคนเดียว แต่เป็นโปรเจคท์ของทุกคนในทีมด้วยเช่นกัน

Nimsdai
อิริยาบถสบายๆ ก่อนเริ่มปีนสู่ยอด K2
Photo: https://www.nimsdai.com/bremont-project-possible

นิมส์ได้แสดงให้โลกได้เห็นถึงศักยภาพความเป็นมนุษย์ในการทำสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ให้เป็นไปได้ใน Project Possible 

ถึงเวลาแล้ว ที่นิมส์จะแสดงศักยภาพของชาวเชอร์ปาให้โลกได้ประจักษ์อย่างเป็นทางการถึงความเป็นเจ้าแห่งภูเขาที่แท้จริงในภารกิจ K2 Winter 20/21 

แม้ชาวเชอร์ปาจะเป็นนักปีนเขาที่เก่งชนิดหาตัวจับยาก แต่พวกเขาไม่เคยถูกพูดถึง ผมหวังว่าผมจะสามารถทำให้ชาวโลกจดจำชื่อของพวกเขาได้มากขึ้น  

และท้ายที่สุด นิมส์กับนักปีนเขาชาวเชอร์ปาอีก คน ก็เป็นคนกลุ่มแรกในโลกที่พิชิตยอดเขา K2 ในฤดูหนาวได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2021

Nimsdai
Nirmal Purja ในงานเลี้ยงต้อนรับเขาและทีมผู้พิชิต K2 ในฤดูหนาว ณ Shigar ภูมิภาค Gilgit-Baltistan ทางตอนเหนือของประเทศปากีสถาน เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564
Photo: Aamir QURESHI / AFP

คำถามคือ ทำไมพวกเขาถึงเลือกที่จะเอาชนะ K2 และทำไมต้องเป็นฤดูหนาว 

ต้องทำความรู้จักกันก่อนว่า ทวีปเอเชียกลางเป็นบ้านของยอดเขาที่มีความสูงเกิน 8,000 เมตร ทั้งหมด 14 ยอด ซึ่งทุกแห่ง ยกเว้น K2 สามารถปีนได้ทั้งในหน้าร้อนและหน้าหนาว  

ส่วน K2 นั้นมีทั้งหิมะถล่มที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ อุณหภูมิเกือบๆ จะติดลบ 60 องศาฟาเรนไฮต์ และลมแรงระดับเฮอริเคนในช่วงฤดูหนาว ทำให้ K2 เป็นความท้าทายลำดับท้ายๆ ที่นักปีนเขาจะนึกถึง เพราะพวกเขารู้ดีว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะปีน K2 ในฤดูหนาว ลำพังการพิชิต K2 ในฤดูร้อนหรือฤดูใบไม้ผลิ โอกาสสำเร็จยังแทบจะเป็นไปไม่ได้ ทำให้มีนักปีนเขาไม่ถึง 400 คนเคยไปถึงยอด K2

Nimsdai
ภาพของยอดเขา K2 (ตรงกลาง) ที่ถูกบันทึกไว้ในวันที่ 14 สิงหาคม 2019
Photo: AMELIE HERENSTEIN / AFP

ลองเทียบกับภาพคิวของนักปีนเขาที่รอขึ้นเอเวอเรสต์ คงเห็นภาพชัดขึ้นว่ายอดเขาที่มีความสูงรองลงมาอย่าง K2 นั้นโหดหินกว่าหลายเท่า ถึงขั้นได้รับสมญาว่าเป็น ภูเขามรณะ โดยจอร์จ เบลล์ นักปีนเขาชาวอเมริกัน ผู้เคยไปเยือน K2 ในปี 1953 ยืนยันว่า นี่คือภูเขามรณะที่พยายามจะฆ่าคุณ โดยจากสถิติพบว่า ทุกครั้งที่มีนักปีนเขาเดินทางขึ้นไปพิชิตยอด K2 4 คน จะมี คนเสียชีวิตระหว่างทาง 

ก่อนหน้านี้ได้มีการพยายามพิชิต K2 ในฤดูหนาวมาแล้ว ครั้ง โดยความล้มเหลวครั้งล่าสุดเกิดขึ้นกับคณะนักปีนเขาชาวโปแลนด์เมื่อปี 2018

Nimsdai
นิมส์พิชิตยอด K2 ใน Project Possible เมื่อปี 2019
Photo: https://www.nimsdai.com/k2-winter

หรือแม้แต่ในภารกิจ K2 Winter 20/21 ในครั้งนี้ก็เช่นกัน ที่มีผู้เสียชีวิตระหว่างทาง เมื่อ เซร์คี มิงโกเต้ (Sergi Mingote) นักปีนเขาชาวสเปนผู้เคยพิชิต 10 ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกโดยไม่ใช้ออกซิเจนมาแล้ว ต้องมาจบชีวิตลง ณ จุดที่ต่ำกว่าทุกยอดที่เขาเคยไปพิชิตมา โดยเขาลื่นตกลงมาจากเขาจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องนำตัวลงมายังเบสแคมป์ และเสียชีวิตลงในที่สุด  

สำหรับสมาชิกร่วมปฏิบัติภารกิจพิชิต K2 ในฤดูหนาวนั้น หลังจากที่สองพี่น้องเชอร์ปาประกาศภารกิจนี้ให้โลกรู้ทางโซเชียลมีเดีย ปรากฏว่ามีนักปีนเขาจากนานาชาติสนใจเข้าร่วมโครงการนี้มากกว่า 24 ราย นอกจากนี้ ยังมีทีมเนปาลมาร่วมอีก ทีม ได้แก่ ทีม Nimsdai ประกอบด้วยนักปีนเขา คน นำโดย นิมส์ ที่ฟอร์มทีมร่วมกับนักปีนเขาชาวเชอร์ปาอีก คน อาทิ เกลเจน เชอร์ปา (Geljen Sherpa) ผู้เคยพิชิตยอดเขาในหิมาลัยหลายยอดร่วมกับนิมส์ในปี 2019 และ มิงมา เดวิด เชอร์ปา ซึ่งเป็นที่รู้จักในภารกิจช่วยเหลือนักปีนเขา 52 คนจากไหล่เขาในเอเวอเรสต์ภายในฤดูกาลเดียว เมื่อปี 2016  

ส่วน มิงมา จี (Mingma G) นักปีนเขาชาวเชอร์ปาผู้เคยพิชิตเอเวอเรสต์มาแล้ว ครั้ง K2 อีก ครั้ง และพิชิตยอดเขาสูงเกิน 8,000 เมตรของโลกมาแล้วจนครบ ก่อนจะอายุ 30 เป็นผู้นำทีมเนปาลอีกทีม

Nimsdai
นิมส์พิชิตยอด K2 ใน Project Possible เมื่อปี 2019
Photo: https://www.nimsdai.com/bremont-project-possible

ทั้งสองทีมและทีมลูกหาบชาวปากีสถานช่วยกันแบกเต็นท์ที่พัก 70 หลัง เต็นท์กินข้าว หลัง และเต็นท์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการใช้งานในระดับความสูงเป็นพิเศษอีก 30 หลัง แล้วออกเดินเท้าระยะทางกว่า 60 ไมล์เป็นเวลากว่าสัปดาห์ไปยังเบสแคมป์ที่ปกคลุมด้วยหิมะที่ความสูง 5,181 เมตร พวกเขายังขนเอาเชือกความยาวหลายพันเมตร สกรูน้ำแข็งอีกหลายโหล แท่งเหล็กสำหรับยึดเกาะหิน ออกซิเจนกระป๋อง น้ำมันก๊าด เนื้อ 360 ปอนด์ ช็อกโกแลต 400 ปอนด์ คุกกี้ และธัญพืชอัดแท่งไปด้วย 

ได้มีการตกลงกันก่อนแล้วว่านักปีนเขาทุกคนจะต้องเดินตามเส้นทางมาตรฐาน Abruzzi โดยในวันที่ 26 ธันวาคม นิมส์และทีมได้ขนเอาเชือก เต็นท์ และอาหารสำหรับ วันติดตัวไปด้วย และทำการปีนขึ้นสู่ความชัน 40 องศาเพื่อไปยังแคมป์ ที่ระดับความสูง 6,100 เมตร เพื่อเริ่มปรับตัวให้เข้ากับความสูงเป็นวันแรกจากเวลาทั้งหมด วัน

Nimsdai
Photo: https://www.nimsdai.com/bremont-project-possible

วันต่อมา พวกเขาเดินต่อไปยังแคมป์ ที่ระดับความสูง 6,700 เมตร และกางเต็นท์บริเวณใต้ชะง่อนผาที่แทบจะปกป้องพวกเขาจากลมแรงไม่ได้เลย 

ยอดน้ำแข็งบางชิ้นใหญ่เท่ากับบ้านหนึ่งหลัง นิมส์เล่าถึงบรรยากาศรอบตัว ซึ่งแน่นอนว่ามันทำให้พวกเรากลัว แต่ถ้าวันนั้นเป็นวันของเรา เราก็ต้องผ่านมันไปได้ ผมแค่สวดภาวนาต่อภูเขาว่าตอนนี้เราต้องการทางเดิน และภูเขาก็อนุญาตให้พวกเราผ่านไปได้ 

เคล็ดลับอยู่ที่การไม่รีบร้อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปอดบวมในเขตพื้นที่สูง ซึ่งเป็นสภาวะที่อันตรายที่สุด โดยจะเกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดในปอดตีบ จนไปเพิ่มความดันในปอด ทำให้ของเหลวรั่วเข้าไปในถุงลมได้ วิธีเดียวในการรักษา คือ ลงจากเขาเพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น 

ถ้าอาการปอดบวมไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้หายใจลำบาก และไม่นานหลังจากนั้น เลือดและของเหลวในร่างกายจะซึมเข้าสู่สมอง ทำให้เกิดภาวะสมองบวม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เสียชีวิต

Nimsdai
Photo: https://www.bbc.com/news/world-asia-55684149

ดังนั้น การใช้ออกซิเจนช่วยในการหายใจจึงจำเป็นมาก และสำหรับนักปีนเขาบางคน แม้จะใช้ออกซิเจนช่วยในการหายใจแล้วก็ยังสามารถเกิดอาการเซื่องซึม วิงเวียน และสูญเสียการทรงตัวได้ 

ถ้าออกซิเจนในกระป๋องของคุณหมด แล้วคุณแค่เผลอหลับตาลงไม่กี่วินาที คุณก็จะไม่ตื่นขึ้นมาอีกเลย เรนาน เอิร์สตูร์ค (Renan Ozturk) นักปีนเขาและนักถ่ายภาพยนตร์ประจำทีม เอ่ยถึงความจำเป็นของการใช้ออกซิเจนช่วยหายใจ

Nimsdai
หนึ่งในนักปีนเขาทดสอบหน้ากากออกซิเจนก่อนออกเดินทาง เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2020
Photo: PRAKASH MATHEMA / AFP

ในวันที่ 28 ธันวาคม 2020 วิทยุของปูร์จาดังขึ้น ทีมของมิงมา จี กำลังยุ่งอยู่กับการแก้ไขเส้นทางไปสู่ด้านข้างของภูเขา ซึ่งทุกคนจะต้องใช้ในการเดินช่วงหน้าหนาว และสมาชิกในทีมต้องการความช่วยเหลือในการกรุยทางให้สำเร็จเพื่อไปสู่แคมป์ 3 ทั้งนี้ สมาชิก คนในทีมนิมส์ไดก็กำลังรุดหน้าไปยังเบสแคมป์เช่นกัน แต่ปูร์จากับมิงมา เทนซี ได้เดินทางมุ่งไปยังความสูง 7,010 เมตร เพื่อให้การช่วยเหลือ และแล้วเมื่อทุกคนเดินทางกลับไปยังเบสแคมป์ในคืนก่อนปีใหม่ นิ้วของปูร์จาก็ถูกหิมะกัดไปแล้วเรียบร้อย และแล้ว ทีมเนปาลทั้ง ทีมก็เดินทางมารวมกัน 

จากนั้น ตั้งแต่วันที่ มกราคมเป็นต้นมา สภาพอากาศก็เริ่มเลวร้ายลง ลมพัดกระหน่ำแนวลาดเอียงของ K2 วัดความเร็วได้ 60 ไมล์ต่อชั่วโมงตลอดทั้งวัน ในขณะที่เต็นท์สั่นกระพือด้วยแรงลม นิมส์กังวลเกี่ยวกับความเสียหายบริเวณแคมป์ แต่เขาก็ไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้จนกว่าภาพอากาศจะกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง ในวันที่ 10 มกราคม 

เมื่อพวกเขาเดินทางไปถึงแคมป์ ก็พบว่าข้าวของที่อยู่ในเต็นท์ ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ทำอาหาร ถุงนอน เสื่อปูนอน เสื้อผ้าสำหรับช่วยชีวิตฉุกเฉิน อย่างพื้นรองเท้า ถุงมือ และชั้นในที่ช่วยเพิ่มความอบอุ่น หายหมดเกลี้ยง! หรือว่าจะถูกฝังอยู่ในหิมะ? หรือถูกพัดปลิวหายไป? แต่จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ตอนนี้ไม่เหลืออะไรอีกแล้ว 

ด้วยความที่นิมส์ปฏิบัติภารกิจพิชิตยอดเขาไม่ต่างอะไรกับภารกิจในราชการทหาร เราต้องมีแผนสำรองในแผนสำรองในแผนสำรอง เขาและทีมจึงเดินกลับไปยังเบสแคมป์ และเริ่มแพ็คข้าวของทั้งหมดมาทดแทน 

เราวางแผนเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เลวร้าที่สุด และตั้งความหวังไว้ที่การประสบความสำเร็จสูงสุด ปรัชญาฉบับเรียบง่าย (แต่ทำตามได้ยาก) ในแบบเฉพาะตัวของนิมส์

Nimsdai
Mingma Sherpa (ซ้ายสุด) กับเพื่อนร่วมทีมพิชิตยอด K2 ในงานเลี้ยงต้อนรับที่จัดขึ้นในปากีสถาน
Photo: Aamir QURESHI / AFP

ในที่สุด สภาพอากาศก็เปิดในวันที่ 13 มกราคม และนักปีนเขาชาวเนปาล 10 ชีวิตก็พร้อมแล้วกับการเดินทางออกจากเบสแคมป์เพื่อพิชิตยอดเขาให้สำเร็จ แต่ละคนแบกอุปกรณ์เดินเขาหนักกว่า 70 ปอนด์ขึ้นไปยังแคมป์ แล้วพักค้างคืนที่นั่น 

วันต่อมา พวกเขาเดินทางข้ามพื้นที่ที่เรียกกันว่า Black Pyramid ที่มีลักษณะเป็นหิแนวดิ่งและหุบเหวน้ำแข็งลึก เลยถูกเรียกขานว่า House Chimney พวกเขาตะเกียกตะกายขึ้นไปบนหิน แล้วใช้บันไดพาดเพื่อข้ามเหว และไม่ถึงชั่วโมงถัดมาพวกเขาก็กลับมาสู่ความลาดเอียง 40 องศาบนพื้นน้ำแข็งอีกครั้ง 

ตะขอแต่ละอันที่สับลงไปบนพื้นน้ำแข็งทำให้พวกเขาค่อยๆ ไปจนถงแคมป์ ที่ความสูง 7,315 เมตร หลังจากตั้งแคมป์แล้ว พวกเขาก็แก้ไขเส้นทางไปยังแคมป์ ที่ความสูง 7,620 เมตร ก่อนจะมุ่งหน้ากลับลงมายังแคมป์ เพื่อนอนหลับพักผ่อนให้เต็มอิ่ม

Nimsdai
Photo: https://www.instagram.com/p/CJdio1_j7yO/

พวกเขาไม่ได้เคลื่อนที่ไปไหนจนถึงเวลาตี 2:30 ตามเวลาท้องถิ่นในวันเสาร์ เมื่อพวกเขารูดซิปเต็นท์ก็พบดาวพราวฟ้า ทว่าอากาศกลับเย็นยะเยือกราวกับไม่ได้อยู่บนโลก ด้วยอุณหภูมิติดลบ 76 องศาฟาเรนไฮต์ ทำให้ความเย็นบาดทะลุเสื้อผ้าหน้าสี่ชั้นของพวกเขาลงไปถึงเนื้อหนัง และกัดกร่อนพลังของพวกเขาจนแทบไม่เหลือ และแล้วจู่ๆ ลมก็พัดแรงหบเอาหิมะมาปะทะเข้ากับลูกนัยน์ตาของแต่ละคน จนทั้งขนคิ้วและขนตาเต็มไปด้วยหิมะเกาะพราว

เนื้อตัวของผมเริ่มชา มิงมา จี ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนภายหลัง ผมอยากยกเลิกภารกิจ และอีกหลายคนก็คิดเหมือนกัน 

มีแต่นิมส์เท่านั้น ที่กระตุ้นให้ทุกคนไปต่อ

Nimsdai
Mingma Gyalie Sherpa ในวันที่พิชิต K2 ในฤดูหนาวได้สำเร็จ
Photo: Aamir QURESHI / AFP

เราทุกคนล้วนมีความภาคภูมิใจเดียวกัน มีเป้าหมายเดียวกัน ก็คือ เพื่อประเทศเนปาล นิมส์ปลุกใจเพื่อนร่วมอุดมการณ์ ทำให้ชาวคณะปีนเขาหยุดพักที่แคมป์ ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เพื่อพักผ่อนและอบอุ่นร่างกาย และเมื่อลมสงบ พระอาทิตย์ฉายแสง ขวัญกำลังใจกลับคืนมา 

พวกเราได้ก้าวข้ามขีดจำกัดของความเจ็บปวดมาแล้ว และพระอาทิตย์กประทานพลังให้แก่เรา นิมส์ย้ำ 

ภายในเวลาบ่าย พวกเขาก็เคลียร์คอขวด (Bottleneck) ซึ่งเป็นจุดที่ยากที่สุดได้สำเร็จ แล้วค่อยๆ เคลื่อนที่อย่างระมัดระวังไปพร้อมๆ กัน โดยร้อยเรียงเป็นทิวแถวราวกับลูกประคำ พวกเขาค่อยๆ เดินหน้าอย่างแช่มช้าข้ามไหล่เขาเพื่อมุ่งหน้าไปยังยอด K2 

และเมื่อเหลือระยะทางอีกประมาณ 10 เมตรก่อนถึงยอดเขา ทั้งหมดก็เรียงแถวหน้ากระดาน ไหล่ชนไหล่ เพื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้าโดยพร้อมเพรียง เพื่อพิชิตสถิติในครั้งนี้ด้วยกัน 

และแล้วเสียงเพลงชาติเนปาลก็ดังขึ้นกึกก้องยอดเขา เมื่อพวกเขาพิชิตยอด K2 ได้ก่อนเวลา โมงเย็น ทุกคนดื่มด่ำกับทิวทัศน์แห่งฤดูหนาวที่ไม่เคยมีใครได้เห็นมาก่อ

Nimsdai
ความสำเร็จของการพิชิต K2 ในฤดูหนาว
Photo: https://www.instagram.com/p/CKGyyPDBNL-/

ยอดเขาคาราโครัมที่สูงเสียดฟ้าสลับซับซ้อนราวกับฟันของฉลาม ที่เบื้องล่างเป็นโตรกเหวลึก ปกคลุมด้วยน้ำแข็งขาวโพลนราวกับเป็นเครื่องแต่งกายประจำเหมันต์ฤดู ดูด้อยความงามไปทันที เมื่อเทียบกับความภาคภูมิใจและความเป็นหนึ่งเดียวกันที่คับพองและแผ่ซ่านอยู่ในหัวอกของชายชาตรีชาวเนปาลีกลุ่มนี้ 

มันเป็นชั่วขณะแห่งความภาคภูมิใจ ที่ผ่านมาภูเขาทุกลูกในดินแดนของพวกเราล้วนถูพิชิตโดยชาวต่างชาติ นั่นทำให้พวกเราเลือกที่จะพิชิตยอด K2 ในฤดูหนาวให้สำเร็จให้ได้ มิงมา จี กล่าว 

และนี่คือรายชื่อของนักเดินเขาชาวเนปาล 10 คน ในภารกิจ K2 Winter 20/21 

  1. NimsdaiPurja
    2. Mingma David Sherpa (Team Nimsdai)
    3. Mingma Tenzi Sherpa (Team Nimsdai)
    4. Geljen Sherpa (Team Nimsdai)
    5. Pem Chiri Sherpa (Team Nimsdai)
    6. Dawa Temba Sherpa (Team Nimsdai)
    7. Mingma G
    8. Dawa Tenjin Sherpa (Team Mingma G)
    9. Kilu Pemba Sherpa (Team Mingma G)
    10. Sona Sherpa (SST)

อ้างอิง