art exhibition
The Art of Luxurious Living : In Tentacles Hotel
ศิลปะแห่งการอยู่อาศัยอย่างหรูหรา เทนทาเคิล โฮเทล เกิดจากการตั้งคำถามว่า สิ่งใดที่ทำให้ที่ทำให้เกิดความผูกพันธ์ระหว่างคนและพื้นที่ จากการ Research และโปรเจ็คก่อนหน้านี้ของ เจมินี่ คิม เกี่ยวกับผู้อพยพและการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัย ทำให้เขาได้สังเกตวิธีการของผู้อพยพที่จะเสริมสร้างความเคารพและความพึงพอใจส่วนตัวปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ซึ่งเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่ง ครั้งนี้เขาจึงทดลองอยู่อาศัยแบบหรูหราทางจิตใจ ผู้ที่มาอยู่ใหม่อาจเป็นผู้ที่จะมาตั้งถิ่นฐานแบบผู้อพยพลี้ภัยต่างๆ พยายามที่จะกลมกลืนกับพื้นที่พื้นที่หนึ่งและอีกพื้นที่หนึ่ง รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/events/771357733362760/,Tentacles
Where Echoes Never End
นิทรรศการ ‘Where Echoes Never End’ เป็นงานที่ร้อยเรียงภาพเคลื่อนไหวและภาพถ่ายที่ ปิยะรัศมิ์ ปิยะพงศ์วิวัฒน์ บันทึกไว้กว่าร้อยชิ้นในระยะเวลา 10 ปีที่ทำงานมา เปรียบเสมือนห้วงคิดคำนึงต่อโลกอันหมุนวน ที่สะท้อนเสียงอันแตกแยกในบรรยากาศทางการเมืองขมุกขมัว รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/events/639751906761047/, Gallery VER
The solo exhibition ‘(un)seen’ by Imhathai Suwatthanasilp
นิทรรศการนี้เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากผลงานชุดที่ผ่านมาของ อิ่มหทัย สุวัฒนศิลป์ ภายใต้ชื่อ See Through – See True (2560) ผลงานที่พูดถึงเรื่องความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ศิลปินเลือกที่จะนำเสนอผลงานศิลปะผ่านรูปแบบของป้ายไฟเพื่อสร้างความย้อนแย้งอันเด่นชัดกับเรื่องราวและปัญหาที่กำลังพูดถึงผลงานทั้งหมดเป็นการถ่ายภาพผ่านเส้นผม ที่ได้จากการที่ศิลปินขอรับบริจาคผ่านทาง Facebook โดยเป็นเส้นผมของชาวไทยพุทธและมุสลิมปะปนกัน อิ่มหทัยนำเรามองย้อนไปถึงปัญหาที่อาจจะถูกลืม เราทุกคนต่างก็เป็นผู้เฝ้ามองสังเกตการณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนี้หรือปัญหาใดๆ ความรับผิดชอบย่อมไม่ได้ขึ้นอยู่กับสื่อเพียงอย่างเดียว แต่ล้วนอยู่กับพวกเราทุกคน รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/events/3153348464680041/, 1PROJECTS
NEO THAiiSM – Art Exhibition
ลัทธิศิลปะที่นำเสนอความเป็นไทยในมุมมองสมัยปัจจุบัน ตั้งต้นจากกลุ่มศิลปิน นำโดย ธีรพล สีสังข์, สุบรรณกริช ไกรคุ้ม และ เทิดธันวา คะนะมะ ทั้งสามได้หยิบยกเรื่องราวแบบไทยๆ มาตีความอีกครั้ง นอกจากจะเป็นการเปิดมุมมองใหม่ ๆ ให้กับผู้ชมแล้ว ยังได้เห็นถึงแง่คิดและสัญญะต่าง ๆ ที่สอดแทรกไว้อย่างแยบยล รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/events/966312153768730/
They told me “who I am” Art Exhibition
ความหลากหลายของสัญลักษณ์ที่ใช้กันในเฉพาะกลุ่มนั้นทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางความเข้าใจ และตีความไปตามขีดจำกัดของความรู้ตนเอง การตีความของสัญลักษณ์นั้นหากมองโดยทั่วไปแล้วอาจะเป็นเรื่องธรรมดา แต่การตีความเหล่านั้นแฝงไปด้วยอคติที่พยายามแบ่งหมวดหมู่ของมนุษย์ให้มีระดับชั้นของคุณค่าไม่เท่ากัน โดยที่ยังไม่ได้พิจารณากับลักษณะเฉพาะของบุคคลเสียก่อน ศิลปิน มาเรียม ธิดารัตน์ จันทเชื้อ สังเกตเห็นจากการใช้ชีวิตอยู่กับคนทั่วไป และใช้ชีวิตในแนวทางที่ต่างออกไปตามความศรัทธาของตนเอง ทำให้ศิลปินได้เห็นและเป็นส่วนหนึ่งของสังคมทั้งสองรูปแบบ จึงได้หยิบยกเอาความธรรมดาสามัญในชีวิตที่บางมุมก็อาจเกิดขึ้นกับคนทั่วไป และบางมุมก็เกิดได้กับคนบางกลุ่มเท่านั้น มาแสดงออกให้เห็นถึงความทับซ้อนทางวัฒนธรรมและการแทรกตัวอยู่ของวัฒนธรรมอื่นอย่างคลุมเครือ ผ่านผลงานศิลปะที่จัดแสดงในนิทรรศการนี้ รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/events/1442417279246922/
Spectrosynthesis II – Exposure of Tolerance: LGBTQ in SEA
Sunpride Foundation เสนอ ‘SPECTROSYNTHESIS II – Exposure of Tolerance: LGBTQ in Southeast Asia’ นิทรรศการศิลปะร่วมสมัยที่จะพาไปทำความรู้จักประวัติศาสตร์อันสร้างสรรค์ของเลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล ทรานส์และเควียร์ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิทรรศการจะจัดแสดงด้วยศิลปิน 59 ท่าน จาก 15 ประเทศ ทุกคนจากแต่ละที่ได้สรางงานที่หลากหลายเพื่อเล่าประเด็นของ LGBTQ งานนี้ทำให้ศิลปินหลายคนได้วิเคราะห์หัวข้อต่างๆ ด้วยหัวใจของพวกเขา เรียนรู้ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนท่ามกลางวัฒนธรรมของแต่ละที่ที่อาศัยอยู่ รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/events/399149784302883/ , Sunpride Foundation 驕陽基金會
Yestertodaymorrow
‘YESTERTODAYMORROW’ เป็นนิทรรศการล่าสุดของ กันตภณ เมธีกุล หรือที่รู้จักกันในนาม Gongkan เป็นศิลปินมากความสามารถ เป็นที่รู้จักทั้งในกรุงเทพและที่นิวยอร์ค แบ่งเป็น 3 ห้อง คือ Timeless Room, Dining Room และ Insomnia ซึ่งเปรียบเสมือนไดอารี่ส่วนตัวของศิลปินคนนี้ที่จัดแสดงในบรรยากาศร่วมสมัย รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/events/2430055513715114/, Gongkan
LHONG 1919 : 80+ Art Festival #03
นิทรรศการลำดับที่ 3 (จาก 6 สถานที่) ในเทศกาล ‘80+’ ซึ่งเป็นนิทรรศการศิลปะแสดงเดี่ยวของ ชวลิต เสริมปรุงสุข (ขอนแก่น, 2482) ศิลปินไทยในอัมสเตอร์ดัมคนสำคัญในวงการ abstract art และ non-objective art ผู้ใช้ชีวิตควบคู่กับการทำงานศิลปะทั้งในประเทศไทยและเนเธอร์แลนด์ ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา ในวัย 70 ปี หลังจากได้มอบทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์สาธารณะ ชวลิตเปลี่ยนแนวจากการทำชิ้นงานประติมากรรมและจิตรกรรมขนาดใหญ่ ไปสู่การทำงานดิจิตอลบนคอมพิวเตอร์ เขาได้พัฒนาผลงานแนวดิจิตอลและทดลองสร้างงานพิมพ์อิงค์เจ็ทดิจิตอลแบบมีเพียงชิ้นเดียว ซึ่งผลงานชุดนี้จะนำมาจัดแสดงเป็นครั้งแรกในนิทรรศการ ‘80+’ ใน 6 พื้นที่ทางศิลปะในประเทศไทย เพื่อเฉลิมฉลองช่วงเวลาครบรอบอายุปีที่ 80 ของชวลิต เสริมปรุงสุข รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/events/996557820683116/,Chavalit Soemprungsuk
Girls, not Objects : Exhibition Art & Idol Photo Set
นิทรรศการศิลปะที่นำเอาวัฒนธรรมการถ่ายภาพ Photo Set ของวง Idol มาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร และสะท้อนปัญหา Objectification หรือ การลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ด้วยการปฏิบัติต่อกันเสมือนเป็นวัตถุ ซึ่งเป็นปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกับบรรดาศิลปินในวงการไอดอลและวงการบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นการถูกคุกคามจากสังคมออนไลน์ การถูกตีตราจากวัฒนธรรมเฉพาะ รวมถึงผลกระทบจากกลไกทางการตลาดในวงการบันเทิง ภาพทุกใบถูกถ่ายทอดและตีความจากบทสัมภาษณ์เรื่องราวและความคิดเห็นที่มีต่อประเด็น Objectification ของตัวแทนศิลปินทั้ง 18 วง กลั่นกรองและนำเสนอผ่านผลงานศิลปะทั้ง 18 ชิ้น รายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายจะถูกส่งมอบให้กับองค์กร THE UNITED NATIONS ENTITY FOR GENDER EQUALITY AND THE EMPOWERMENT OF WOMEN (“UN Women”) เพื่อนำไปใช้ในกิจการที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกกระทำในสังคม รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/events/986452771707039/, Murasaki Studio