w©rld

หนึ่งในเหตุการณ์ที่ทั่วโลกกำลังจับตามองอยู่ในขณะนี้คงหนีไม่พ้นการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนพม่า

หลังเกิดการรัฐประหารนำโดยพลเอก มิน อ่อง หล่าย (Min Aung Hlaing ผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่ได้เข้าควบคุมประเทศ ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน และประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นเวลา ปี เมื่อวันที่ กุมภาพันธ์ 2564

ออง ซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi) ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) และสมาชิกอาวุโสคนอื่นๆ ถูกกองทัพควบคุมตัวโดยให้เหตุผลว่า “มีการทุจริตการเลือกตั้ง” เหตุกาารณ์นี้ทำให้ประชาชนลุกฮือขึ้นทำอารยะขัดขืน มีการรวมกลุ่มชุมนุมประท้วงทั่วประเทศเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวออง ซาน ซูจี พร้อมคณะ

ผู้ชุมนุมในเมืองย่างกุ้ง (Yangon) ในวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมา (photo : STR / AFP)
ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ออกมาประท้วงต่อต้านรัฐประหารและเรียกร้องให้ปล่อยตัว ออง ซาน ซูจี (photo : STR / AFP)

การชุมนุมต่อต้านเผด็จการทหารยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า เดือน ประชาธิปไตยที่พวกเขาเรียกร้องราคาสูงจนต้องแลกด้วยเลือดเนื้อและชีวิต เมื่อการปราบปรามผู้ประท้วงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นใช้กระสุนจริง กองทัพซึ่งมีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองประเทศและผู้คนกลับหันปลายประบอกปืนเข้าหาประชาชน ข่มเหงเข่นฆ่าผู้เห็นต่างอย่างไร้มนุษยธรรม ในทุกๆ วันชาวพม่าต้องใช้ชีวิตอยู่บนความหวาดระแวง แม้แต่บ้านก็ไม่ใช่สถานที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขาอีกต่อไป

วันกองทัพพม่า หรือ 27 มีนาคมที่ผ่านมา กลายเป็นอีกหนึ่งวันที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กว้างขวางจากทั่วโลก เมื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุม สังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์ไปมากกว่า 100 ชีวิต และในจำนวนนั้นมีทั้งเด็กและเยาวชนรวมอยู่ด้วย ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมนับจากวันรัฐประหารจนถึงปัจจุบันมีมากกว่า 500 คน

แม้จะเป็นเช่นนั้น แต่อุดมการณ์ของผู้เรียกร้องประชาธิปไตยยังคงแรงกล้า หลังจากผ่านความสูญเสียครั้งใหญ่ชาวพม่ายังคงมีการชุมนุมและไว้อาลัยให้ผู้เสียชีวิตจากการต่อสู้กับเผด็จการทหาร ซึ่งพวกเขาขนานนามผู้คนเหล่านั้นว่า ‘ดวงดาวที่ดับแสง’ (Fallen Stars)

เมืองย่างกุ้ง (Yangon) ที่ปกคลุมด้วยควันไฟจากการเผายางรถยนต์ในวันกองทัพพม่า (photo : STR / AFP)
ผู้ประท้วงวิ่งผ่านแนวสิ่งกีดขวางเพื่อหนีเอาชีวิตรอดระหว่างการสลายการชุมนุม (photo : STR / AFP)
ผู้ประท้วงหลบซ่อนตัวเพื่อความปลอดภัยระหว่างเหตุการณ์สลายการชุมนุมในเมืองย่างกุ้ง (photo : STR / AFP)
ผู้ประท้วงได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์การสลายการชุมนุม (photo : STR / AFP)
ผู้ร่วมชุมนุมช่วยกันปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บจากการปะทะระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่ทหาร (photo : STR / AFP)
ญาติผู้เสียชีวิตจากการประท้วงต่อต้านรัฐประหารกอดรูปร่ำไห้ด้วยความเจ็บปวด (photo : STR / AFP)
ญาติพี่น้องร่วมแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม (photo : STR / AFP)
ผู้ชุมนุมร่วมกันยืนไว้อาลัยให้แก่ผู้เสียชีวิต บรรยากาศเต็มไปด้วยความโศกเศร้า (photo : STR / AFP)
ผู้ชุมนุมร่วมกันชูสามนิ้วไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตจากการประท้วง (photo : STR / AFP)

แม้ต้องเผชิญกับการปราบปรามผู้ประท้วงที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทว่าการต่อสู้เรียกร้องของพวกเขาจะยังคงดำเนินต่อไป  

ไม่ใช่แค่คนในประเทศเท่านั้น แต่รวมถึงชาวพม่าในต่างแดน และชาติอื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงของกองทัพ และไม่มีใครล่วงรู้ได้เลยว่าเหตุการณ์จะไปสิ้นสุดที่ตรงไหน 

ดวงดาวต้องดับแสงสังเวยเลือดเนื้อและชีวิตต่ออำนาจเผด็จการอีกเท่าไหร่ จึงจะได้ประชาธิปไตยที่แท้จริง

ผู้ไว้ทุกข์ถือธงพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy) ในพิธีศพของผู้เสียชีวิตจากการประท้วง (photo : STR / AFP)
ชาวพม่าในสหรัฐอเมริการ่วมชุมนุมต่อต้านรัฐประหารและไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิต (photo : STR / AFP)
ชาวพม่าในสหรัฐอเมริการ่วมชุมนุมต่อต้านรัฐประหารและไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิต (photo : STR / AFP)
ชาวพม่าในไทเปออกมารวมกลุ่มชูสามนิ้วต่อต้านรัฐประหาร (photo : SAM YEHAFP / AFP)
พิธีไว้อาลัยและวางดอกไม้รำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ประท้วงวันกองทัพพม่า (photo : STR / AFP)
ชาวพม่าร่วมจุดเทียนไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมของกองทัพพม่า (photo : AFPTV / AFP)

อ้างอิง