life

เชื่อไหมว่า ‘คนเราเปลี่ยนได้’  

มนุษย์มีนิสัยส่วนตัวที่ทำให้กิจวัตรประจำวันดำเนินไปอย่างเป็นระเบียบ เช่น สะดุ้งตื่นเวลาเดิมทุกวันโดยไม่ต้องมีนาฬิกาปลุก แปรงฟัน ทานอาหารเช้าแบบเดิมๆ นี่เป็นเซฟโซนที่สมองสร้างให้คนเรารู้สึกปลอดภัย 

ถ้านั่นเป็นพฤติกรรมดีๆ คงไม่เป็นไร แต่หากกำลังเผชิญกับพฤติกรรมแย่ๆ ที่ย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง เป็นนิสัยเดิมๆ ที่แก้ไม่ตก อย่างไม่ชอบดื่มน้ำ ไม่ยอมกินผัก ชอบนอนเฉยๆ ไม่ออกกำลังกาย จะทำอย่างไร 

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ‘คนเราเปลี่ยนได้’ สมองสั่งการเราได้ มนุษย์เองก็สั่งการสมองได้ แดเนียล ซีเกล (Daniel Siegel) ผู้ก่อตั้ง Mindful Awareness Research Center ที่โรงเรียนการแพทย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส ระบุว่า คนเราเรียนรู้เพื่อฝึกให้สมองสร้างนิสัยใหม่ๆ ได้ แม้จะล่วงเลยเข้าสู่วัยกลางคนหรือสูงอายุ แต่มนุษย์ก็ไม่ใช่ไม้แก่ดัดยากเพราะระบบประสาทของเราสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองด้วยนิสัยใหม่ๆ ได้อยู่เสมอ 

นี่เป็น วิธีที่ฝึกสมองให้รับนิสัยใหม่ๆ เปลี่ยนตัวเองให้เป็นเวอร์ชันที่ดีกว่าเดิม 

1.

รู้ว่าอยากเปลี่ยนอะไร 

เริ่มจากสังเกตนิสัยเดิมที่อยากเปลี่ยน อาจทำง่ายๆ ด้วยการจดบันทึกกิจวัตรประจำวันเป็นอันดับแรก เมื่อเห็นชัดแล้วว่านิสัยเดิมๆ เป็นอย่างไรและไม่ดีอย่างไร ให้กำหนดเป้าหมายว่านิสัยที่อยากเปลี่ยนให้ดีขึ้นคืออะไร 

2.

แทรกนิสัยใหม่ลงในกิจวัตรเดิม 

เจมส์ เคลียร์ (James Clear) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Atomic Habits เรียกวิธีนี้ว่า ‘habit stacking’ หรือการเติมนิสัยใหม่ๆ ลงไปในกิจวัตรเดิมๆ ตัวอย่างเช่น หากเดิมทีเป็นคนไม่ชอบออกกำลังกาย ให้ลองวิดพื้นวันละ ครั้งหลังแปรงฟันในตอนเช้า นี่เป็นการแทรกการออกกำลังกายไปในกิจวัตรเดิมอย่างการแปรงฟัน โดยไม่จำเป็นต้องเจียดเวลาหลังเลิกงานเพื่อไปยิม ก็สร้างนิสัยรักการออกกำลังกายได้ 

3.

ชัดเจนว่าจะทำอะไร

ระบุให้ชัดเจนว่าสิ่งที่จะทำเพื่อเปลี่ยนนิสัยคืออะไร หากตั้งเป้าหมายว่า ‘อยากกินอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น’ หากต้องทำตอนนี้ กำหนดเลยว่าอาหารมีประโยชน์ที่ว่านั้นคืออะไร เช่น หลังจากทานมื้อเช้าเสร็จจะกินน้ำผักปั่นจำนวน แก้ว จากนั้นให้หยุดทำทุกอย่างแล้วโฟกัสกับการกินน้ำผักอย่างตั้งใจ การวิจัยของ Gabriele Oettingen และ Peter M. Gollwitzer ในปี 2010 ระบุว่าการเริ่มต้นที่ดีให้เริ่มด้วยความตั้งใจที่จะทำบางสิ่งอย่างเฉพาะเจาะจงและเป็นไปตามแผน 

4.

ทำน้อยๆ แต่สม่ำเสมอ 

คนเรามักอยากเปลี่ยนทุกอย่างในวันเดียว แต่การหักดิบอาจไม่ใช่คำตอบ การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนควรเริ่มจากเรื่องง่ายๆ ที่แม้เป็นก้าวเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปเพียงวันละ เปอร์เซ็นต์ แต่เพียงเท่านั้นก็เป็นสัญญาณดีๆ ที่จะทำให้นิสัยใหม่ติดตัวเราไปได้นาน 

เจมส์ เคลียร์ แนะนำให้ใช้ กฎสองนาที’ ซึ่งเป็นการเริ่มเปลี่ยนนิสัยใหม่จากสิ่งที่ทำได้ภายใน นาทีเช่น หากอยากอ่านหนังสือเป็นประจำทุกวัน ก่อนนอนเพียง นาที ลองหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน นั่นเป็นสิ่งง่ายๆ ที่เราจะมีพลังและเวลามากพอสำหรับทำในทุกๆ วัน 

5.

นึกอยู่เสมอว่าเราปลี่ยนตัวเองเพื่ออะไร 

ให้คิดอยู่เสมอว่า ‘เราเปลี่ยนตัวเองเพื่ออะไร’ และมองหาคำตอบว่านิสัยใหม่ๆ นั้นสร้างประโยชน์อะไรให้กับตัวเรา เคท เฮย์ส (Kate Hays) นักจิตวิทยาระบุว่า สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการฝึกฝนตนเองคือต้องรู้จุดประสงค์ของการกระทำเหล่านั้นเสมอ การทำอย่างต่อเนื่องและรู้ว่าทำเพื่ออะไร ย่อมสำคัญกว่าการเฝ้าฝันถึงผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบ 

อ้างอิง